ยินดีต้อนรับสู่บล็อกสังคมศึกษา ฯ คะ

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สหกรณ์
       สาระสำคัญ สหกรณ์ใช้หลักความสมัครใจ และการพึ่งตนเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักประชาธิปไตย
         ผลการเรียนรู้ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมา หลักการ วิธีการของระบบสหกรณ์ รู้จักสนับสนุนและส่งเสริมการสหกรณ์เต็มความสามารถของตน

พฤติกรรมชี้วัด 1. บอกความหมาย ประเภท ระบบการทำงาน และหลักการของสหกรณ์ได้
                        2. บอกข้อดีข้อเสียของระบบสหกรณ์ได้
                       3. สร้างคุณลักษณะ / ปฏิบัติตนตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังได้
1. ความหมายและประเภทของสหกรณ์
          สหกรณ์ (cooperative หรือ co-op) คือ องค์กรที่เกิดจากการรวมกลุ่มบุคคลเพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อความต้องการและเป้าหมายของสมาชิกที่เป็นเจ้าของร่วมกัน
สหกรณ์
องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศ หรือไอซีเอ (Internation Cooperative Alliance : ICA) ให้ความหมายของสหกรณ์ไว้ว่า สหกรณ์ คือ องค์การของบรรดาบุคคล ซึ่งรวมกลุ่มกันโดยสมัครใจในการดำเนินวิสาหกิจที่พวกเขาเป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุมตามหลักประชาธิปไตย เพื่อสนองความต้องการ (อันจำเป็น) และความหวังร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

จากความหมายที่ยกมานี้ สามารถสรุปลักษณะสำคัญของสหกรณ์ ได้ดังนี้

1. สหกรณ์เป็นองค์กรของกลุ่มบุคคล มิใช่ของคนใดคนหนึ่ง
2. การรวมกลุ่มหรือการเป็นสมาชิกสหกรณ์ต้องเป็นไปโดยสมัครใจ


 

 3. สหกรณ์ดำเนินวิสาหกิจ คือ ประกอบกิจการ เช่น การผลิต การจำหน่าย กิจการนี้สมาชิกเป็นเจ้าของร่วมกัน
4. การควมคุมการดำเนินการใช้หลักประชาธิปไตย
5. กิจการของสหกรณ์มีวัตถุประสงค์ เพื่อสนองความต้องการและความหวังร่วมกันของสมาชิก ในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

อาวุธศิลปินแห่งชาติ ออกแบบพระเมรุสิ้นใจโรคมะเร็ง


อาวุธศิลปินแห่งชาติ ออกแบบพระเมรุสิ้นใจโรคมะเร็ง

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)

ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ

วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก




 
asean flags2